วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วิวัฒนาการทัศนศิลป์ไทย

วิวัฒนาการทัศนศิลป์ไทย

จิตรกรรมสมัยสุโขทัย
จิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Traditional Thai painting) โดยมากเขียนไว้เพื่อจุดประสงค์ ในการประดับตกแต่ง อาคารศาสนสถานและเครื่องใช้ ที่เกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนา เช่น ในโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ คูหาในสถูปเจดีย์ คัมภีร์ต่างๆ และบนภาพพระบฏ เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวจากพระไตรปิฎก เช่น พุทธประวัติ ชาดก ไตรภูมิ และอื่นๆ โดยนอกจากจะเป็นไปเพื่อการประดับตกแต่งแล้ว ยังได้เล่าเรื่อง และแสดงธรรมบางประการไว้ด้วย นอกเหนือไปจากการให้ความรู้ความเพลิดเพลินแล้ว จิตรกรรมไทยยังได้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไป ของสภาพชีวิตความเป็นอยู่ และคติความเชื่อของคนไทยในยุคสมัยต่างๆ สอดแทรกไว้ด้วย

งานจิตรกรรมสมัยสุโขทัยนั้นปรากฏว่ามีการทำภาพแกะลายเบา โดยแกะสลักบนหินเป็นลายเส้น ตัวอย่างเช่น ภาพแกะสลักลายเส้นบนเพดานผนังอุโมงค์วัดศรีชุม สลักเรื่องโคชานิยชาดก สำริดจากวัดเสด็จ ตลอดจนจิตรกรรมฝาผนังพบที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว ภายในคูหาชั้นในของมณฑปที่มีเรือนยอดเป็นปรางค์ผสมเจดีย์ทรงระฆังมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แต่ปัจจุบันลบเลือนเกือบหมดแล้ว แต่นับเป็นคุณูปการแก่คนไทยอย่างยิ่งที่ท่านศาสตราจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ซึ่งเป็นผู้ที่รัก เข้าใจ และเห็นคุณค่าของจิตรกรรมไทย ได้ทำการคัดลอกภาพจิตรกรรมฝาผนังจากวัดเจดีย์เจ็ดแถวไว้เป็นหลักฐานให้อนุชนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาต่อมา
งานศิลปกรรมของแต่ละชาติแต่ละยุคในสมัยแรกๆ อาจมีลักษณะแบบอย่างดั้งเดิม หรือได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากชนชาติที่มีความเจริญสูงกว่า ต่อมาก็พัฒนาสร้างลักษณะแบบอย่างที่มีเอกลักษณ์ของตนเองจนจัดได้ว่ามีความเจริญสูงสุด หรือที่เรียกว่าเป็นยุคทอง (golden age)
หรือยุคคลาสสิค (classic age) ที่ชี้ชัดให้เห็นถึงความสามารถทางศิลปะเป็นพิเศษไม่มียุคใดสมัยใดของชาตินั้นๆ เปรียบเทียบได้
ประเทศต่างๆ ได้พยายามจัดยุคที่รุ่งเรืองของตนให้เป็น ยุคทอง เพื่อให้ประชาชาติของตนรู้สึกภาคภูมิใจและให้ชาวโลกได้รู้จักได้ศึกษา เช่นสมัยสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธ (Elizabethan Age) เป็นยุคทองของชาวอังกฤษ สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV Reign) เป็นยุคทองของชาวฝรั่งเศส สมัยคุปตะ (Guptan Period) เป็นยุคทองของชาวอินเดีย สมัยราชวงศ์ถัง (Tang dynasty) เป็นยุคทองของชาวจีน สมัยนารา(Nara Period) เป็นยุคทองของชาวญี่ปุ่น เป็นต้น
สมัยสุโขทัยได้รับการยอมรับว่า เป็น ยุคทองของความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรมของชาติไทย และชาวโลก ด้วยความงดงามแห่งทัศนศิลป์ด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม ของสุโขทัยนี้เองที่ทำให้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) คัดเลือกให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เป็นมรดกโลก (World Heritage) ในปีพุทธศักราช 2534
ประติมากรรมไทยสมัยสุโขทัย
เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๙๑๘ เมืองสำคัญทางศิลปะของสมัยสุโขทัยมีเมืองสุโขทัยเก่า กำแพงเพชร และศรีสัชนาลัยปรากฏโบราณสถานใหญ่โต มีศิลปวัตถุเป็นจำนวนมาก ชาวสุโขทัยนับถือพุทธศาสนายุคแรกตามแบบสมัยลพบุรีคือพุทธศาสนาแบบมหายาน ภายหลังพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์แพร่ขยายเข้ามาในสมัยพ่อขุนรามคำแหง วัสดุที่นำมาสร้างศิลปะประติมากรรม มี ปูนเพชร (ปูนขาวแช่น้ำจนจืดผสมกับทรายที่ร่อนละเอียด ยางไม้ และน้ำอ้อยนำมาโขลกให้เหนียวแล้วนำมาปั้น เมื่อแห้งจะแข็งและทนทานต่อดินฟ้าอากาศมาก) ดินเผา ไม้โลหะสำริด และทองคำ แบบอย่างของประติมากรรมสมัยสุโขทัย แบ่งเป็น ๔ ยุค คือ
สถาปัตยกรรมสุโขทัย

สถาปัตยกรรมไทยสมัยโบราณแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆคือ
1.สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา ได้แก่ อาคารและสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร สถูป เจดีย์ ปรางค์ กุฏิ หอไตร
2.สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับกษัตริย์ ได้แก่ อาคารที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์
3.สถาปัตยกรรมพื้นบ้าน ได้แก่ บ้านเรือนที่พักอาศัยของประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ

สถาปัตยกรรมไทยสมัยต่างๆมีดังนี้คือ

1.สถาปัตยกรรมไทยสมัยเชียงแสน หรือ สถาปัตยกรรมล้านนา (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-23) พญาเม็งรายได้รวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือให้อยู่ภายในอาณาจักรเดียวกัน แล้วสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นราชธานีในปี พ.ศ.1839 ขนานนามว่า "ลพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" เป็นศูนย์กลางของศิลปะวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนาในสมัยต่อมา
สถูปและเจดีย์ที่พบในบริเวณเมืองเชียงแสนซึ่งเป็นศูนย์กลางของล้านนายุคแรก ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 16 แทบทั้งสิ้น สถาปัตยกรรมสมัยเชียงแสนที่ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบันมากที่สุด คือ เจดีย์ ที่ส่วนมากได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบต่างๆ มาผสมผสานกัน เช่นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสุโขทัย แต่ดัดแปลงผสมผสานกับรูปแบบของล้านนา ได้แก่ เจดีย์วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
เจดีย์เหลี่ยมแบบที่รับอิทธิพลมาจากศิลปะศรีวิชัยผสมกับศิลปะทวารวดีและสุโขทัย ได้แก่เจดีย์เหลี่ยมวัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เจดีย์เหลี่ยมวัดกู่กุด หรือวัดจามเทวี จังหวัดลำพูน เจดีย์เจ็ดยอดวัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ สร้างเลียนแบบวิหารพุทธคยา ที่รับอิทธิพลมาจากศิลปะพม่าเป็นต้น
สำหรับโบสถ์และวิหารล้านนานิยมสร้างเป็นครึ่งปูนครึ่งไม้คือ ส่วนล่างก่ออิฐฉาบปูน ส่วนบน ทำเป็นไม้ฝาปะกน และบันไดทางขึ้นนิยมทำเป็นนาคสองตัวทอดยาวเป็นราวบันได เช่นวิหารวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน และวิหารลายคำวัดพระสิงห์วรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่

2.สถาปัตยกรรมไทยสมัยสุโขทัย สร้างขึ้นในอาณาจักรสุโขทัยเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19-20
เจดีย์สมัยสุโขทัยก็เช่นเดียวกับเจดีย์สมัยเชียงแสนหรือล้านนา ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบต่างๆ เข้ามาผสมผสานกับศิลปะของสุโขทัยจนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะของสุโขทัย เช่น เจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะลังกา ศิลปะศรีวิชัย และเจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์นี้ มักสร้างฐานเป็นสี่เหลี่ยมซ้อนกันสามชั้น องค์เจดีย์เป็นเหลี่ยมย่อมุม ยอดเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูม การก่อสร้างใช้ศิลาแลงเป็นแกน ฉาบปูน เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์นี้ถือเป็นเจดีย์ของสุโขทัยแท้ๆ ปรากฏอยู่ที่วัดมหาธาตุ เมืองเก่าสุโขทัย และเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัยเป็นต้น
เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา เป็นเจดีย์ที่รับอิทธิพลรูปแบบมาจากลังกา ซึ่งเข้ามากับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ เช่นเจดีย์วัดช้างรอบ จังหวัดกำแพงเพชร และเจดีย์วัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัย เจดีย์แบบนี้ เหนือองค์ระฆังทรงกลมขึ้นไปเป็นบัลลังก์ยอดกลมเรียว เป็นเจดีย์ที่นิยมสร้างกันแพร่หลายในสมัยสุโขทัย
เจดีย์แบบศรีวิชัย เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมสูง มีซุ้มคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ด้าน ถัดขึ้นไปเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา มุมเจดีย์ประดับด้วยเจดีย์เล็กๆทั้งสี่มุม เจดีย์แบบนี้มีปรากฏที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย
ปรางค์ เป็นสถูปพุทธศาสนาที่แปลกออกไป เพราะแต่เดิมเป็นสถูปในศาสนาพราหมณ์ สร้างมาก่อนอาณาจักรสุโขทัย ต่อมาดัดแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนา โดยดัดแปลงรูปทรงให้สูงชะลูดขึ้นไปกว่าของเดิม เช่นปรางค์วัดพระพายหลวง ที่เมืองเก่าสุโขทัย
สำหรับโบสถ์วิหารสมัยสุโขทัยนั้น สันนิษฐานว่า ก่อด้วยโครงศิลาแลงฉาบปูน โครงสร้างหลังคานิยมเรียงด้วยก้อนศิลาเหลี่ยมซ้อนกันไปเป็นสามเหลี่ยมค่อนข้างแหลม ส่วนอาคารที่โครงสร้างเป็นไม้ หลังคาคงเป็นหลังคาจั่วลาดชันเพื่อให้น้ำฝนไหลสะดวกและป้องกันลมด้วย

3.สถาปัตยกรรมไทยสมัยอยุธยา ก่อนที่จะถึงสมัยอยุธยานั้นมีศิลปะกรรมกลุ่มช่างกลุ่มหนึ่งที่มีรูปแบบที่แตกต่างไปจากศิลปะอยุธยา คือ ศิลปะอู่ทอง แต่อย่างไรก็ตามสถาปัตยกรรมสมัยอู่ทองอาจผนวกรวมเข้ากับสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาได้
ศิลปะสมัยอยุธยานิยมแบ่งออกเป็น 3 ยุค หรือ 3 ช่วง คือแบ่งเป็นสมัยอยุธยาตอนต้น เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พ.ศ.1893 ไปจนถึงสมัยพระชัยราชาธิราช พ.ศ.2089 สมัยอยุธยาตอนกลางตั้งแต่สมัยพระยอดฟ้า พ.ศ.2089 จนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา พ.ศ.2199 และสมัยอยุธยาตอนปลายตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชไปจนถึงเสียกรุงครั้งที่ 2 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ พ.ศ.2310
ก.ยุคต้นของกรุงศรีอยุธยาการสร้างวัดนิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัด ปรางค์ที่สร้างขึ้นนี้เอาแบบอย่างมาจากปรางค์ขอม แต่ดัดแปลงให้ทรงชะลูดกว่า ทำย่อมุมมากขึ้นและยกฐานขึ้นสูงจนเกือบเท่าองค์ปรางค์ เช่น ปรางค์วัดพุทไธสวรรย์ วัดพระรามและวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991-2031) นิยมสร้างเจดีย์ทรงลังกาแบบมีบัลลังก์เหลี่ยมเหนือองค์ระฆังกลม เช่น เจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์
สำหรับโบสถ์และวิหารสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นอาคารขนาดใหญ่ จึงต้องมีเสารับเครื่องบนหลังคาภายในสองแถวและมีเสารับชายคาปีกนกภายนอกด้วย เช่น พระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุเป็นต้น
ข.สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง สมัยนี้มักสร้างสถูปและเจดีย์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นิยมสร้างเจดีย์แบบลังกาเช่นเดียวกับที่เคยสร้างในสมัยสุโขทัย เช่น เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดอยุธยาสำหรับโบสถ์และวิหารในสมัยอยุธยาตอนกลางนั้น มีขนาดเล็กลง ก่อผนังทึบไม่มีเสารับน้ำหนักภายในอาคาร แต่ใช้ผนังรับน้ำหนักหลังคาแทน เลิกใช้เสาด้านข้าง แต่ใช้ทวยรับน้ำหนักชายคาปีกนก ตัวอย่างเช่นพระอุโบสถวัดสระบัว จังหวัดเพชรบุรีเป็นต้น
ค.สมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นยุคที่ช่างฝีมือต่างๆเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการติดต่อค้าขายกับชาวตะวันตกและชาวจีนมากขึ้น ทำให้ได้รับวิทยาการใหม่ๆมาปรับปรุงช่างฝีมือไทยให้ดีขึ้น มีการนำเอารูปแบบของศิลปะยุโรปเข้ามาผสม เช่นการเจาะหน้าต่างอาคารโค้งแหลมแบบศิลปะกอธิก และเริ่มสร้างอาคารสองชั้นได้แก่ ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรค์ จังหวัดอยุธยาเป็นต้น

4.สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ แบ่งออกเป็น 2 ยุคคือ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เริ่มตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์หรือกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2325 จนสิ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และยุคที่สองอันเป็นสถาปัตยกรรมยุคใหม่เริ่มตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาจนถึงปัจจุบัน
พระบรมมหาราชวังที่สร้างขึ้นนั้น ถ่ายผังบริเวณพระราชวังหลวงในกรุงศรีอยุธยามาแทบทุกอย่าง ในรัชกาลที่ 3 มีการก่อสร้างและบูรณะปราสาทราชมณเฑียร เช่น เปลี่ยนหลังคาพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทจากกระเบื้องดีบุกเป็นกระเบื้องเคลือบ
สำหรับโบสถ์และวิหารแบบพระราชนิยมที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 นั้น มีอิทธิพลศิลปะจีนเข้ามาผสม มีลักษณะที่สำคัญคือ เครื่องหลังคา หน้าบัน ไม่มีเครื่องลำยอง จึงไม่มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ เสาทำเป็นเสาสื่เหลี่ยมไม่มีบัวปลายเสา หน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้น เครื่องเคลือบดินเผา ถ้วยชามจีนแทนการประดับด้วยลายปูนปั้น และนิยมตกแต่งบริเวณรอบๆด้วยเครื่องหินศิลปะจีน ตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมา ถือเป็นยุคของการปฏิรูปบ้านเมืองยุคใหม่ การสร้างวัดวาอารามและโบสถ์วิหารมักจะนำเอารูปแบบของศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับศิลปะไทย เช่นพระอุโบสถวัดบวรนิเวศน์วิหารเป็นต้น
จิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
จิตรกรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
จิตรกรรมฝาผนัง แม้จะใช้เป็นศิลปะตกแต่งในโบสถ์วิหารไม่ใช่เพื่อความสวยงามอย่างเดียว เป็นเรื่องราวที่ให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไปในตัวด้วยและในการมองเห็นภาพเรื่องราวจะสร้างความเข้าใจในสาสนาได้มากขึ้น เช่น ภาพเรื่องพุทธประวัติ ภาพชาดก ภาพไตรภูมิและอื่นๆโดยที่ชาวบ้านอาจจะดูภาพจิตรกรรมฝาผนังและเข้าใจในเรื่องราวได้ดีในสมัยที่ชาวบ้านไม่รู้หนังสือกัน เพราะในการดูภาพจะทำให้เข้าใจในเรื่องจากภาพได้
จิตรกรรมฝาผนังในยุคแรก เริ่มเขียนภาพคนง่ายๆ ที่ปรากฏหลงเหลือตามโบราณสถาน เป็นภาพพระพุทธรูปเป็นแถว รูปซ้ำๆกัน หรือไม่ก็จะเป็นรูปพระพุทธเจ้าขนาบด้วยพระสาวก ไม่ก็คนนั่งเป็นแถวมีบุคคลนั่งเฝ้าพระพุทธเจ้า ส่วนสีจะใช้เป็นดินผงหรือไม่ก็สีฝุ่น จำนวนสีจำกัด เมื่อสมัยอยุธยาตอนปลาย จิตรกรรมฝาผนังเริ่มแสดงภาพที่ซับซ้อนเป็นเรื่องราวขึ้น จนพอมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีวิจิตรพิสดารยิ่งขึ้นอีกภาพแรงแถวแต่เดิมก็ยังคงมีอยู่ แต่จะเขียนไว้ตอนบน ส่วนก็มากก็จะเป็นเทพชุมนุมในเนื้อที่ระหว่างหน้าต่างและประตูเขียนพุทธประวัติ ส่วนด้านหลังพระประธานจะเขียนไตรภูมิ ส่วนด้านหน้าก็จะเขียนพุทธประวัติตอนมารวิชัย
จิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์จะจัดภาพเรื่องราวเป็นตอนๆเดิมจะใช้การแบ่งโดยเส้น “ คดกริด” หรือ สินเทา ต่อมาได้คลี่คลายมาใช้เป็นเส้นหรือแนวอาคาร และการจัดภาพมีความแน่นทึบมาก การใช้สีพื้นก็จะใช้สีแดงหรือสีอ่อนๆแบบอยุธยา ได้มาเปลี่ยนพื้นเป็นสีหนักๆและจะนิยมทองลงภาพให้ดูเด่นสว่าง เป็นบรรยากาศของพระราชวังหรือเครื่องทรงของกษัตริย์เป็นต้น
ในสมัยราชกาลที่ 1 จิตรกรรมภายในพระที่นั่งพุทธไธสวรรย์ถือว่าเก่าและมีคุณค่ายิ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้เขียนขึ้นราว พ.ศ.2338ถึง2340 โดยที่จิตรกรในสมัยราชกาลที่1 ได้มีการเขียนซ่อมก็เพียงบางแห่งเท่านั้น เพราะคุณค่าของภาพเดิมยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน และยังพบภาพเขียนสำคัญในราชกาลที่1ที่วักระฆังสิตาราม วัดดุสิตาราม กรุงเทพมหานคร
น.ณ ปากน้ำ ได้กล่าวถึงภาพบนผนังหอไตรวัดระฆัง วึ่งเดิมเป็นหอที่นั่งเรือนเดิมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชการที่1ก่อนจะขึ้นครองราชย์ตอนที่ได้เป็นกษัตริย์แล้วได้ทรงถวายบ้านเดิมเป็นวัด ซึ่งภายหลังได้มีการย้ายมาอยู่ในเขตพุทธวาสโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่แล้วให้พระอาจารย์นาคเป็นผู้เขียนภาพบนผนัง จะเป็นเรื่องราวต่างๆซึ่งฝีมือสมัยราชการที่1 จะดูแข็ง เขียนผู้คนก็ทะมัดทะแมงไม่อ่อนหวานปลิวลมเหมือนสมัยหลังๆ น่าจะเป็นเพราะสมัยนั้นเป็นการตั้งตัวผู้คนเข้มแข็ง อันแสดงอำนาจจึงปรากฏในภาพเขียนด้วย
จิตรกรรมฝาผนังในสมัยรัตนโกสินทร์ดูว่าจะรุ่งเรืองในสมัยราชการที่ 3ซึ่งเห็นได้จากภาพเขียนในอุโบสถและพระวิหาร ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม ละวัดสุวรรณาราม กรุงเทพ มีอิทธิพลจากศิลปะจีนเข้ามาปะปนอยู่เพราะมีการค้าขายมากกับจีน ได้ศิลปินฝีมือดีได้แก่ ครูแป๊ะ ฝีมือในการตัดเส้นด้วยปลายพู่กันที่เรียกว่าพู่กันหนวดหนูมีการใช้เส้นอ่อนแก่จึงดูเหมือนภาพนั้นกลมกลืนเป็นธรรมชาติอีกท่านนึ่งคืออาจารย์ทอง ซึ่งเรียกอีกว่าหลวงวิจิตร เจษฎา มีฝีมือแบบไทยโบราณ เคยประชันแข่งขันวาดภาพที่วัดสุวรรณาราม จนเป็นที่เลื่องลือกัน
ในสมัยรัชการที่ 4 อิทธืพลตะวันตกเริ่มขึ้นในรัชการที่ 4 เริ่มนิยมภาพเหมือนจริงที่มีเงาและมีความลึกลับแบบทัศนียวิสัย
จิตรกรรมไทยสมัยนี้แบ่งออกเป็น 2 แบบ แบบแรกเขียนตามคติไทยโบราณแต่ประยุกต์ด้วยบรรยากาศตะวันตกวิธีการเขียนจิตรกรรมฝาผนังตะวันตกไม่เป็นที่นิยมนักพอถึงสมัยรัชการที่ 5 ทรงร่างแบบเรื่องมหาเวสสันดรชาดก แล้วให้จิตรกรชาวอิตาเลียนเขียน ต่อมารัชการที่ 6 ยังนิยมเขียนแบบตะวันตก ซึ่งภาพที่ชื่อเสียงเขียนเป็นเรื่องราวพระราชประวัติของพระสมเด็จนเรศวรมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชจากพม่าในวัดพระวิหารวัดสุวรรณดาราม พระนครศรีอยุธยา ภาพเหมือนจริง
เป็นภาพแห่งประวัติศาสตร์ของชาติยิ่ง
จะเห็นได้ว่าจิตรกรรมมัยกรุงรัตนโกสินทร์จะเป็นภาพจิตรกรรมที่เก็บเรื่องราวทางพระพุทธศสนาและยังมีการรวมกับศิลปะแบบจีน ตะวันตก จนทำให้เราได้รู้ถึงความกว้างออกไปของงานจิตรกรรมที่ยังมีการพัฒนาไปเรื่อยในฐานะที่เราเป็นคนรุ่นหลังเราควรที่จะอนุรักษ์ต่อไป
อ้างอิงมาจากผศ. ประจวบ เอี่ยมผู้ช่วย พิมพ์จำนวน 1000เล่ม
ประติมากรรมลวดลายสมัยรัตโกสินร์
ช่างไทยโบราณ นิยมใช้ลวดลายต่างๆ ประดับลงบนสิ่งของเครื่องใช้ ศิลปวัตถุ หรือศิลปสถานต่างๆ เกือบทุกชนิด ศิลปกรรมของไทยโบราณจึงมีความ ละเอียดวิจิตรบรรจง ไม่ว่าจะเป็นตู้ โต๊ะ เตียง ตั่ง คันฉ่อง เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ สิ่งก่อสร้างทั้งวัดและวัง เช่น โบสถ์ วิหาร พระปรางค์ เจดีย์พระที่นั่งหรือปราสาทราชมณเฑียร ศิลปกรรมเหล่านี้ต่างประดับลวดลายไว้เกือบทุกส่วน เพิ่มความสวยงามละเอียด ประณีต ซึ่งเป็นส่วนที่เชิดชูผลักดันศิลปวัฒนธรรมเหล่านั้นให้แสดงเอกลักษณ์และอุดมคติแบบไทยออกมาอย่างชัดเจน
ศิลปกรรมทุกชนิดของไทยมีความละเอียดประณีตวิจิตรบรรจง เป็นศิลปะแบบอุดมคติ มีความรู้สึกทางความงามเหนือธรรมชาติ ช่างไทยโบราณมีฝีมือ ความคิด และความชำนาญเป็นพิเศษ โดยเฉพาะความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในการกำหนดส่วนสัด ช่องไฟ การตกแต่งลวดลายลงไปในพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ไม่มีกฎเกณฑ์การตกแต่งลวดที่บังคับตายตัวเกินไป นอกจากกำหนดระบบแบบแผนไว้กว้างๆ เช่น การแบ่งเนื้อที่ การเขียนกระจัง กนก การออกลาย การแบ่งลาย การห้ามลาย การแยกลาย และการต่อลายทั้งการต่อลายแบบขึ้นลง การต่อลายแบบซ้ายขวาการต่อลายดอกลอยและลายผนัง กฎเกณฑ์การเขียนลวดลายเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์พัฒนาปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับปัญหาของพื้นที่ที่จะกำหนดลวดลายลงไป
หากลองพิจารณาดูสถาปัตยกรรมไทยสักหลังหนึ่ง เช่น พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดา-ราม จะเห็นลวดลายตกแต่งประเภทต่างๆ ทำงานร่วมกัน ในส่วนสัดที่เหมาะสม มีชั้นเชิงล้อรับสอดประสานสัมพันธ์กัน ทั้งในส่วนของหลังคา หน้าบัน คันทวย ผนัง เสา ฐาน การย่อมุม ตลอดจนเครื่องตกแต่ง บานประตูหน้าต่างที่มีการตกแต่งลวดลายทุกส่วนอย่างละเอียด แม้ศิลปะไทยโดยทั่วไปมีลักษณะออกจะฟุ่มเฟือยในการตกแต่งตามสายตาของคนรุ่นใหม่ แต่ถ้าลองพินิจพิจารณาดูอย่างละเอียดโดยตั้งใจแล้ว จะเห็นว่าไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเกินความจำเป็นหรือขัดสายตาแม้แต่น้อย
ประติมากรรมลวดลายของไทย แสดงให้เห็นเจตนาอันบริสุทธิ์ ความคิดริเริ่มที่มีแบบอย่างเป็นของตนเอง ลวดลายทั้งหลายจะแสดงคุณค่าความรู้สึกในเชื้อชาติและเอกลักษณ์ไทยอย่างชัดแจ้ง ลวดลายมีเส้นสลับซับซ้อน ตัวลาย ทรงลาย ช่อลาย หรือถ้ามีเถาลายจะมีความคดโค้งอ่อนช้อยสัมพันธ์กัน สร้างอารมณ์อ่อนไหวละมุนละไม ที่สำคัญคือการสะบัดปลายเรียวแหลมของยอดกนกแต่ละตัวจะไม่แข็งกระด้าง ด้วนกุดและดูไม่ตาย แต่เคลื่อนไหวพลิกพลิ้ว การสร้างลวดลายกนกทุกเส้น ทุกตัว ทุกทรง และทุกช่อประสานสัมพันธ์กันทั้งในส่วนละเอียด ส่วนย่อยและส่วนใหญ่ ไม่มีการหักงอหรือแข็งกระด้างไม่ว่าส่วนไหนก็ตาม ลวดลายส่วนใหญ่ของไทยได้รับความบันดาลใจจากสิ่งแวดล้อมจากธรรมชาติทั้งพืช สัตว์ และสิ่งอื่นๆ และมีการสร้างสรรค์มานานก่อนสมัยทวารวดี ลวดลายสมัยแรกๆเลียนแบบอย่างจากธรรมชาติ เช่น ลายใบไม้ ลายดอกไม้ ลายพรรณพฤกษาต่างๆ ต่อมาได้คลี่คลายมาเป็นลวดลายที่เป็นแบบประดิษฐ์มีระเบียบแบบแผนมากขึ้น โดยเฉพาะตอนปลายสมัยอยุธยาและต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ลวดลายจึงมีหลายประเภทและมีชื่อเรียกที่ยังแสดงให้เห็นถึงที่มาจากความบันดาลใจเหล่านั้น เช่น ลายเครือเถา ลายก้านขดลายตาอ้อย ลายก้ามปู และลายกาบพรหมศรเป็นต้น
ลวดลายเหล่านี้มีอยู่เป็นจำนวนมากจนจัดเป็นศาสตร์ที่ได้รับการกำหนดเป็นแบบแผน ช่างไทยทั้งหลายต้องศึกษาจนเข้าใจชีวิตของลวดลายเหล่านี้ จนสามารถพัฒนาประยุกต์การใช้ลวดลายให้เหมาะสม เพราะประเภทของประติมากรรมไทยจะมีทั้งขุดแกะด้วยไม้ ปั้นหล่อด้วยโลหะปั้นด้วยปูน ประดับด้วยการลงสี ลงรักปิดทองประดับมุก ประดับกระเบื้อง ประดับกระจกหุงหรือสลักดุนนูนด้วยโลหะ การสร้างลายหรือนำลายมาใช้ จึงต้องสัมพันธ์กับตัววัสดุ กลวิธี และเทคนิควิธีการสร้างงานxระติมากรรม รวมทั้งพื้นที่และวัตถุประสงค์ในการแสดงออกของศิลปกรรมเหล่านั้นด้วย
การออกแบบลวดลายเพื่อใช้ในงานประติมากรรมของช่างไทยจะออกแบบต่างๆ กันตามวัสดุที่นำมาสร้างลายกล่าวคือ ถ้าวัสดุที่ใช้ทำลวดลายเป็นหิน ปูน หรือดินเผา การออกแบบลายก็จะมีเส้นหยาบ ทึบ ป้อม มิให้ลวดลายชูยอดไปจากพื้นมากนัก gพราะต้องช่วยรับน้ำหนักตัวเองมิฉะนั้นจะแตกหักง่าย แต่ถ้าเป็นการปั้นดินเพื่อการปั้นดินและนำไปเผาธรรมดา และถ้าวัสดุที่สร้างศิลปกรรมนั้นเป็นไม้ลวดลายจะเริ่มมีความละเอียดอ่อน เพราะไม้เป็นวัสดุเนื้ออ่อน จำหลักง่าย น้ำหนักเบา ตัวลายยื่นออกมาจากพื้นได้มากอีกทั้งยังสามารถสร้างลายซ้อนกันได้หลายชั้น
ช่างไทยมีความชำนาญในการใช้วัสดุต่างๆ ซึ่งมีอยู่อุดมสมบูรณ์ในท้องถิ่นของไทย และสามารถเข้าใจธรรมชาติของวัสดุเหล่านี้เป็นอันดีจนเข้าใจการเลือกกลวิธีและเทคนิควิธีใช้วัสดุเหล่านั้น เพื่อผสมผสานส่งเสริมศิลปกรรมให้แสดงอารมณ์ คุณค่าความรู้สึกตามที่ช่างไทยปรารถนา การมีวัสดุใช้ในการสร้างงานศิลปกรรมอย่างอุดมสมบูรณ์ ทำให้สามารถสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องพะวงถึงความไม่พอหรือประหยัดจนเกินการ จึงทำให้ลวดลายของไทยมีความละเอียดประณีตวิจิตรอลังการ แสดงความอุดมสมบูรณ์ในการใช้ลวดลายประดับในทุกส่วนของศิลปกรรมและศิลปสถานของไทย
ประติมากรรมตกแต่งสะท้อนความเชื่อ
ประติมากรรมตกแต่งสะท้อนความเชื่อ เป็นงานประติมากรรมตกแต่งระดับศิลปสถานหรือศิลปวัตถุ มีทั้งขนาดเล็กที่ประดับตามฐานเชิงชั้นต่างๆและขนาดใหญ่ที่ประดับบริเวณพุทธสถาน โบสถ์ วิหาร มณฑป เจดีย์ พระปรางค์บุษบก ธรรมาสน์ ในพุทธศาสนา และปราสาทราชมณเฑียร พระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ ประติมากรรมเหล่านั้นแม้เป็นเพียงประติมากรรมตกแต่ง แต่ก็แสดงความหมายให้แนวคิดสะท้อนคติความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่ยึดถือคติไตรภูมิเป็นหลัก เปรียบเป็นการจำลองรูปจักรวาลทางพุทธศาสนาโดยถือสถานที่หรือศิลปะนั้นเป็นเขาพระสุเมรุ แกนกลางของจักรวาล ตกแต่งประดับฐานของศิลปสถานหรือศิลปกรรมนั้นด้วยประติมากรรมเป็นภาพหรือภาพประกอบลวดลาย หรือลวดลาย เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนความหมาย เชิงชั้นต่างๆ ในคติไตรภูมิของพุทธศาสนาลดหลั่นสูงต่ำตามความสำคัญของฐานะแห่งชั้นเหล่านั้น คือ
๑. พื้นที่ที่รองรับศิลปะวัตถุหรือศิลปสถานนั้นตั้งอยู่เปรียบเสมือนเป็นมนุษยภูมิ โดยเฉพาะชมพูทวีปอันเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ทั้งหลายนี้
๒. ฐานชั้นล่างสุดของศิลปวัตถุหรือศิลปสถาน มักเป็นหน้ากระดานสลักลวดลายรองรับฐานสิงห์ บัวหลังสิงห์ อันแปลงมาจากสิงห์ล้อม ถ้าเป็นฐานศิลปกรรมประเภทบุษบกหรือฐานอาคารสำคัญของชาติ บางทีจะจำหลักเป็นรูปสิงห์ แบกล้อมรอบฐาน ณ ตำแหน่งนี้เป็นสัญลักษณ์ แทนแดนหิมพานต์ แม้จะยังอยู่ในแดนมนุษย์ใน ชมพูทวีป แต่คติทางศาสนายังถือว่าเป็นแดนมนุษย์ที่สงัด สงบ เบาจากกิเลสตัณหา เป็นที่อยู่ของสัตว์ในวรรณคดี และมนุษย์ที่อยู่ในเพศอันบริสุทธิ์ได้แก่ ฤาษี นักบวช หรือมนุษย์ เช่น พวกนักสิทธิ์วิทยาธร
๓. สูงจากฐานสิงห์เหนือบัวหลังสิงห์มักจะเป็นฐานเชิงบาตร ๒ ชั้น คือ
๓.๑ ฐานเชิงบาตรชั้นล่าง ถ้าเป็นฐานศิลปกรรมหรือศิลปสถานที่สำคัญของชาติ เช่นพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ทอดเหนือพระราชบังลังก์ หรือพระแท่นพระราชบัลลังก์ มหาเศวตฉัตรในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน หรือฐานพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดา-รามจะใส่ประติมากรรมรูปครุฑยุดนาคเต็มตัวตั้งรายรอบศิลปกรรมเหล่านั้น ถ้าเป็นศิลปกรรมที่มีความสำคัญรองลงมาหรือฐานโบสถ์ วิหารวัดสามัญฐานเชิงบาตรชั้นล่างจะเป็นเส้นกลมเล็กๆ รัดท้องไม้แล่นไปตลอดศิลปกรรม หรือศิลปสถาน ถ้ามนกลมเรียกว่า "รัดอกลูกแก้ว" ถ้าสันแหลมเรียกว่า "รัดเอวอกไก่" และมักใส่ลวดลายรักร้อยไปโดยตลอด การใช้ครุฑหรือรัดอกลูกแก้ว หรือรัดเอวอกไก่นี้เป็นสัญลักษณ์แทนแดนครุฑที่มีที่อยู่เชิงเขาพระสุเมรุ เพราะตามตำนานกล่าวไว้ว่าครุฑมีที่อยู่ที่ป่างิ้วในสระชื่อสิมพลีหรือฉิมพลีสระ สระนี้อยู่โคนเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาลตามคติไตรภูมิ
๓.๒ ฐานเชิงบาตรชั้นบน ถ้าเป็นฐานศิลปกรรมหรือศิลปสถานที่สำคัญของชาติ มักจะใส่ประติมากรรมรูปเทวดานั่งคุกเข่าพนมมือ ติดตั้งรายรอบศิลปกรรมเหล่านั้นเช่นกัน หากเป็นศิลปกรรมที่มีความสำคัญรองลงมา ช่างจะประยุกต์รูปแบบเทวดาให้คล้อยตามไปกับส่วนประกอบอื่นๆ ของศิลปวัตถุโดยทำเป็นรูปกระจังเจิมหรือกระจังปฏิญาณ ตรงกลางลายเป็นรูปเทพนม หรือถ้าเป็นโบสถ์หรือธรรมาสน์วัดสามัญ ก็จะประดับด้วยกระจังธรรมดา รูปเทวดาที่นั่งพนมมือ กระจังปฏิญาณ กระจังเจิม หรือกระจังธรรมดาที่ติดเหนือฐานชั้นนี้เป็นรูปสัญลักษณ์ที่ให้ความหมายถึงเทวดาในสวรรค์ชั้นแรก คือสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาเหนือยอดเขายุคนธร เป็นเขาที่ตั้งล้อมเขาพระสุเมรุเป็นชั้นแรก เทวดาในชั้นนี้คือท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ พร้อมบริวารที่ปกปักรักษาทิศต่างๆ ของจักรวาลตามคติไตรภูมิ
๔.เหนือจากชั้นฐานเชิงบาตรชั้นบนขึ้นไป ถ้าเป็นโบสถ์วิหารจะเป็นที่ประดิษฐานพระ-พุทธรูป ถ้าเป็นบุษบก บัลลังก์หรือพระที่นั่งจะเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ถ้าเป็นพระเจดีย์หรือพระปรางค์เหนือขึ้นไปจากฐานดังกล่าวจะเป็นเรือนธาตุหรือองค์ระฆังที่บรรจุพระธาตุ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนยอดเขาพระสุเมรุ ที่ประทับของพระอินทร์ ที่ประดิษฐานเจดีย์จุฬามณีอันบรรจุพระเกศมาลา พระธาตุเขี้ยวแก้วของพระ-พุทธองค์ ยอดเขาพระสุเมรุนี้เป็นแกนกลางของจักรวาล
จากคติของการสร้างประติมากรรมตกแต่งสะท้อนความเชื่อดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าศิลปวัตถุหรือศิลปสถานเหล่านี้ใช้ สำหรับเป็นที่รองรับเพื่อสำแดงเกียรติยศ เกียรติศักดิ์ และความเชื่อถือศรัทธาต่อพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์ของคนไทยที่ดำเนินมาโดยตลอดแต่โบราณจนปัจจุบันตลอดจนแสดงความหมายถึงความเป็นศิริมงคลและความเจริญรุ่งเรืองด้วย
นอกจากประติมากรรมตกแต่งสะท้อนความเชื่อขนาดเล็กประดับติดอาคารศิลปกรรม หรือศิลปวัตถุตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการสร้างประติมากรรมขนาดใหญ่ตกแต่งบริเวณภายในอาณาเขตพุทธสถาน โดยยึดถืออุดมคติสะท้อนความเชื่อทางพุทธศาสนาเรื่องไตรภูมิเช่นเดียวกัน โดยใช้ภาพประติมากรรมทั้งหลายจำลองออกมาเป็นรูปธรรมที่สร้างถวายสำหรับพระศาสนา เป็นการสืบทอดและเผยแพร่พระศาสนาอีกทางหนึ่งประติมากรรมเหล่านั้นมักจะพบอยู่ตามวัดที่สำคัญเช่น รูปหล่อโลหะสัตว์หิมพานต์ขนาดเท่าคนจริงบนพื้นชานชาลาไพที (การยกพื้นสูงขึ้นมาจากพื้นดิน) ตอนบนรอบปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือรูปนกทัณฑิมา หน้าบันไดทางขึ้นทิศตะวันออกของพระวิหารยอดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และหน้าบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งพุทไธสวรรย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หรือรูปสางแปลงสำริดตั้งอยู่ปากประตูกำแพงแก้ว พระอุโบสถวัดพระ-เชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร ภาพสัตว์หิมพานต์เหล่านี้ล้วนถ่ายทอดคติทางพุทธศาสนาเรื่องไตรภูมิออกมาเป็นรูปธรรมทางศิลปกรรมคือการจำลองบริเวณพุทธสถานเป็นแดนป่าหิมพานต์ แวดล้อมด้วยสัตว์หิมพานทั้งหลาย เมื่อบุคคลใดเข้าไปในสถานที่หรือบริเวณเหล่านั้นแล้วประหนึ่งก้าวเข้าไปอีกโลกหนึ่งต่างไปจากชีวิตปัจจุบันธรรมดา
ประติมากรรมเล่าเรื่อง
ประติมากรรมเล่าเรื่อง เป็นประติมากรรมประกอบศิลปสถาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างขึ้นมาเพื่อสะท้อนคติความเชื่อทางศาสนาด้วยการพรรณนาหรือเล่าเรื่องด้วยภาพประติมากรรมทางเทคนิคปั้นปูนหรือแกะสลัก ลักษณะของภาพประติมากรรมเป็นภาพนูนสูงและภาพนูนต่ำมีพื้นหลังรองรับ เรื่องที่นำมาแสดงส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติหรือทศชาติ ซึ่งมักเลือกแสดงเหตุการณ์ตอนที่สำคัญ หรือน่าพิศวงกล่าวคือ ภาพแต่ละกลุ่มสร้างขึ้นด้วยตัวเอกที่มีพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ในพระชาตินั้นๆเป็นประธานหรือเป็นหลักขององค์ประกอบ และมีตัวประกอบที่สำคัญตามแนวเรื่องที่ต้องการเพียงไม่กี่ตัว รวมทั้งแทรกสิ่งของเครื่องใช้ ส่วนของอาคารเป็นฉากหลังเท่าที่จำเป็น เพื่อทำให้ผู้ดูได้ทราบเรื่องราวตอนนั้นอย่างสมบูรณ์ เช่นภาพปูนปั้นปางเสด็จจากดาวดึงส์ ในซุ้มทิศใต้ของพระมณฑปวัดตระพังทองหลาง สุโขทัย มีลักษณะเป็นภาพปูนปั้นรูปพระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์ ลักษณะของพระพุทธรูปเป็นภาพนูนสูง ปางลีลา มีพุทธลักษณะแบบสุโขทัยงดงามมากเคลื่อนองค์อยู่บนรัตนโสปานะ (บันไดแก้ว) แวดล้อมด้วยพระอินทร์ พระพรหม ที่มีขนาดรูปร่างเล็กกว่า ภาพนูนต่ำกว่า ภาพทศชาติปั้นปูน หน้าพระอุโบสถวัดไลย์ ลพบุรี ภาพเรื่องปฐมสมโพธิกถาปั้นด้วยปูนที่เมรุทิศ วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และประติมากรรมผนังเรื่องพุทธประวัติรอบพระวิหารพุทธบาทวัดบางกะพ้อมอำเภออัมพวา สมุทรสงคราม เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีภาพประติมากรรมเล่าเรื่องวรรณคดี เช่นประติมากรรมแกะสลักหินอ่อนนูนต่ำเรื่องรามเกียรติ์ประดับผนังระเบียงพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๕๔ ภาพ เป็นต้น ประติมากรรมเหล่านี้นอกจากจะแสดงคุณค่าทางเรื่องราว คุณค่าทางฝีมือและการแสดงออกของประติมากรรมเองแล้ว ยังมีส่วนช่วยตกแต่งสถาปัตยกรรมนั้นให้อลังการและทรงคุณค่ามากขึ้นอีกด้วย

สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์

พระบรมบรรพต(ภูเขาทอง) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
เป็นพระเจดีย์แบบกลมบนยอดเขา สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่ของพระนคร เช่นเดียวกับพระเจดีย์ภูเขาทอง ที่พระนครศรีอยุธยา เมื่อครั้งเป็นราชธานี โดยมีขนาดวัดได้โดยรอบ 8 เส้น 5 วา สูง 1 เส้น 19 วา 2 ศอก มีบันไดเวียนขึ้นลง 2 ทาง คือทางทิศเหนือและใต้ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระเจดีย์ ย้อนกลับไปใช้ทรงกลมหรือ ทรงลังกาตามแบบสุโขทัยและอยุธยาอีกครั้ง ซึ่งเป็นพระราชนิยมประจำรัชกาลที่ 4 พระเจดีย์ได้รับการปฎิสังขรณ์ ในปี พ.ศ 2509 และบุกระเบื้องโมเสกสีทองที่องค์พระเจดีย์ พร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์องค์เล็กๆ รายรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่ทั้ง 4 ทิศ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุใน พระเจดีย์บนลูกแก้ว.


พระอัษฎามหาเจดีย์(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)
เป็นเจดีย์ทรงปรางค์ ตั้งเรียงอยู่หน้าวัดพระศรีศาสดาราม พระมหาเจดีย์ ทั้ง 8 องค์นี้มีขนาด รูปร่าง และความสูงเหมือนกันทุกประการ แต่ต่างกันออกไปด้วยสีของกระเบื้องเคลือบที่ประดับองค์พระเจดีย์ และชื่อประจำองค์พระเจดีย์เท่านั้น พระมหาเจดีย์แต่ละองค์ก่ออิฐถือปูน แบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ ส่วนฐาน ส่วนเรือนธาตุ และส่วนยอดปรางค์ ส่วนฐานประกอบด้วยฐานทักษิณเป็นฐานแปดเหลี่ยมด้านไม่เท่า มีพนักระเบียงโดยรอบฐาน ส่วนเรือนธาตุเป็นแบบย่อมุมไม้สิบสอง มีซุ้นจรนำประดิษฐานพระพุทธรูปยืนทั้ง 4 ทิศ ส่วนองค์ปรางค์อยู่เหนือส่วนเรือนธาตุ แบ่งเป็น 7 ชั้น รองรับด้วยมารแบกปูนปั้น มียอดนภศูลเป็นรูปฝักเพกาทำด้วยโลหะ.


พระที่นั่งวิมานเมฆ
เป็นพระที่นั่งที่สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีรูปแบบสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตก แบบบศิลปะวิคทอเรีย มีห้องรวมทั้งสิ้น 72 ห้อง ลักษณะอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หักเป็นข้อศอกมุมฉาก บริเวณตรงกลางเป็นรูปแปดเหลี่ยมสูง 3 ชั้น ในส่วนที่ใช้เป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นห้องแปดเหลี่ยมจะมี 4 ชั้น ชั้นล่างรูปแปดเหลี่ยมเป็นท้องพระโรง สูง 2 ชั้น และอาคารชั้นล่างสุดสร้างแบบก่ออิฐถือปูน ลักษณะเด่นของพระที่นั่งองค์นี้คือ ส่วนที่เป็นลวดลายฉลุไม้เรียกว่า "ลายขมนปังขิง" (Gingerbread) ที่จั่วหน้าบัน คอสอง และเชิงชาย มีการตกแต่งทางขึ้น-ลงภายในอาคารด้วยบันไดเวียนไม้สัก ซึ่งเป็นลักษณะเด่นเฉพาะประจำรัชกาล.

โลหะปราสาท (วัดราชนัดดารามวรวิหาร)
เป็นโลหะปราสาทแทนเจดีย์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นที่ 4 ของโลกที่ยังสมบรูณ์อยู่ทุกวันนี้ เป็นถาวรวัตถุที่จัดเป็นศิลปะไทยโดยเฉพาะ ไม่ได้สร้างให้พระสงฆ์อยู่จำวัด แต่สร้างขึ้นแทนองค์พระเจดีย์ โดยมีอุโบสถเป็นศูนย์กลางของวัด และมีโลหะปราสาทเป็นจุกเด่นของพระอาราม มีลักษณะเป็นปราสาท 3 ชั้น สูง 36 เมตร ก่ออิฐถือปูน มียอดเป็นรูปทรงคล้ายเจดีย์ และยอดปราสาทรวมทั้งสิ้น 37 ยอด ซึ่งหมายถึง โพธิปักขิยธรรม 37 ปราการ ตรงกลางเป็นมณฑป มีบันไดขึ้นโดยใช้เสาไม้แก่นใหญ่เป็นแกน แล้วทำขั้นบันไดวนเป็นก้นหอยรอบเสา โอบตัวขั้นบันไดควบกับตัวเสา และผนังด้านข้างเป็นรูปทรงกลมเวียนขึ้นไปสู่ฐานประทักษิณชั้นแรกและชั้นบน.








จิตรกรรม

ศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยา

ลักษณะของศิลปวัฒนธรรมในสมัยอยุธยา แบ่งได้หลายประเภท โดยสรุปลักษณะที่สำคัญแต่ละประเภท ดังนี้
จิตรกรรม

จิตรกรรมไทยได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาเหมือนกับศิลปะแขนงอื่นๆ มักเป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติและพุทธชาดกในพระพุทธศาสนา หรือ วาดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต

ในช่วงแรกของอยุธยา ภาพจิตรกรรมได้รับอิทธิพลจากศิลปะลพบุรี สุโขทัย และลังกาปนกัน สีที่ใช้มีอยู่ 3 สี คือ สีดำ สีขาว และสีแดง มีการปิดทองเล็กน้อย บางภาพจึงมีลักษณะแข็งและหนัก ต่อมาเริ่มใช้สีหลายสี จากศิลปะสุโขทัยที่มีอิทธิพลมากขึ้น จนถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย ช่างเขียนได้พัฒนาจนเป็นแบบอยุธยาอย่างสมบูรณ์ เรียกว่าเป็นจิตรกรรมไทยบริสุทธิ์ ใช้สีทำให้ภาพดูสดใสและมีชีวิตจิตใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้ จากรูปบ้าน ภูเขา ต้นไม้ แสดงให้เห็นว่ามีศิลปะจีนเข้ามาปะปนด้วย

ประติมากรรม
ศิลปกรรม

ศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยา

ลักษณะของศิลปวัฒนธรรมในสมัยอยุธยา แบ่งได้หลายประเภท โดยสรุปลักษณะที่สำคัญแต่ละประเภท ดังนี้

ประติมากรรม งานประติมากรรมได้รับอิทธิพลเช่นเดียวกับสถาปัตยกรรม ในตอนต้น เป็นศิลปะแบบขอม ทำให้พระพุทธรูปในสมัยนี้เป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง ซึ่งศิลปะแบบขอมนี้ได้มีอยู่ก่อนที่จะมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา หลังจากสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นต้นมา การสร้างพระพุทธรูปจะนิยมสร้างตามแบบสุโขทัย จนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้เกิดงานศิลปะแบบอยุธยาอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นการผสมระหว่างศิลปะแบบอู่ทองกับแบบสุโขทัย มีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญที่ได้ประดิษฐานที่พระอารามหลวงภายในเขตพระราชวัง เป็นพระทธรูปยืนสูง 8 วา ใช้ทองคำหุ้มทั้งองค์หนัก 286 ชั่ง

ในตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา มีการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง มีลวดลายเครื่องประดับอย่างกษัตริย์ เป็นแบบทรงเครื่องใหญ่ เช่น พระพุทธรูปยืนปางอภัย เป็นต้น กับอีกแบบคือ แบบทรงเครื่องน้อย ซึ่งจะแตกต่างกันตรงเครื่องประดับตกแต่งของเครื่องทรงที่ได้ประดับเข้าไป

ศิลปกรรม

ศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยา

ลักษณะของศิลปวัฒนธรรมในสมัยอยุธยา แบ่งได้หลายประเภท โดยสรุปลักษณะที่สำคัญแต่ละประเภท ดังนี้

สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรม
มักเป็นสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา

เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในตอนต้นของอาณาจักรอยุธยา นิยมสร้างตามแบบสมัยลพบุรีเป็นส่วนใหญ่ ได้รับอิทธพลจากขอมไว้มาก เช่น พระปรางค์ที่วัดพุทไธสวรรย์ วัดราษฎร์บูรณะ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นต้น
หลังจากที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงขึ้นครองราชย์ ทรงประทับที่เมืองพิษณุโลกเป็นส่วนใหญ่ มีการรับเอาศิลปะแบบสุโขทัยมาใช้แทนการสร้างอย่าง
ในตอนแรก การสร้างพระสถูปนิยมสร้างเป็นเจดีย์ทรงลังกาแบบสุโขทัย แต่ดัดแปลงให้มีความสูงกว่า เช่น พระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ และพระเจดีย์ใหญ่ที่วัดใหญ่ชัยมงคล เป็นต้น

ในตอนกลางถึงตอนปลายของอาณาจักรอยุธยา สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงยกทัพไปเขมร
และได้รับชัยชนะกลับมาทำให้เขมรมาอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยาสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงสร้างพระปรางค์ขึ้นที่วัดไชยวัฒนารามเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะโดยสร้างพระปรางค์ตามศิลปะแบบเขมรและในสมัยนี้นิยมการสร้างพระเจดีย์เป็นแบบเจดีย์เหลี่ยมหรือเจดีย์ไม้สิบสอง เห็นได้ชัดเจนจากพระเจดีย์ใหญ่ที่วัดภูเขาทองซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยเปลี่ยนจากเจดีย์แบบเดิมเป็นเจดีย์ไม้สิบสอง

จิตรกรรมสมัยเชียงแสน

สมัยเชียงแสนหรือล้านนาไทย (พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๔)
"เชียงแสน" ปัจจุบันเป็นชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย นักโบราณคดีได้กำหนดแบบศิลปกรรมภาคเหนือขึ้น เรียกว่า ศิลปะเชียงแสน

อาณาจักรเชียงแสนหรือปัจจุบันนิยมเรียกว่า อาณาจักรล้านนาไทย เพื่อให้มีความหมายกว้างขึ้น หมายถึงเมืองต่างๆ ทางภาคเหนือหรือเขตจังหวัดต่างๆ ในปัจจุบัน เช่น เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่และน่าน เป็นต้น อาณาจักรนี้มีความเจริญ มีอารยธรรมและวัฒนธรรมเป็นแบบหนึ่งโดยเฉพาะ

พงศาวดารเมืองหริภุญไชย กล่าวถึงความเจริญของบริเวณภาคเหนือโดยเฉพาะที่เมืองหริภุญไชย ซึ่งคือลำพูนในปัจจุบันว่า เจริญมาแต่ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๔ พระนางจามเทวีพระราช-ธิดากษัตริย์ละโว้เสด็จไปครองเมืองหริภุญไชยเมืองนี้เจริญสืบต่อมาจนถึงสมัยที่พระเจ้าเม็งรายเสด็จจากเชียงแสนมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์-กลางของภาคเหนือจึงย้ายจากลำพูนมาอยู่ที่เชียงใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๓๙ เป็นต้นมา

อาณาจักรล้านนามีผ้าใช้กันแล้วเช่นเดียวกับอาณาจักรอื่นๆ ในยุคเดียวกัน หรือที่เจริญในระยะเวลาร่วมสมัยกัน ในการทำบุญทางศาสนา มีการถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ซึ่งมีผ้ารวมอยู่ด้วย เช่น ถวายจีวรห่มแก่พระ และผ้าอื่นๆ ให้เป็นทานแก่คนยากจน มีผ้าแพร ผ้าสักหลาด ผ้าสีจันทน์ขาว ผ้าสีจันทน์แดง ผ้าสีดอกจำปา และผ้าธรรมดา พวกชนชั้นสูงมีผ้ากัมพลใช้พันเอว ในทางศาสนาผ้าที่เป็นเครื่องใช้สำหรับพระสงฆ์ มี รัดประคดผ้าผลัดอาบน้ำ อาสนะปูนั่ง ผ้าปูลาดและผ้ากรองน้ำ นอกเหนือไปจากไตรจีวร

เราได้ความรู้จากพงศาวดารนั้นอีกว่า ทหารแต่งกายด้วยผ้าสีเขียว ชาวเมืองที่เดือนร้อนได้รับแจกผ้านุ่งห่ม ผ้าเหล่านี้คงจะทอขึ้นใช้เองภายในเมือง จิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน แสดงให้เห็นการแต่งกายของชาวเหนือโดยเฉพาะผ้านุ่งของผู้หญิง แสดงลวดลายของผ้าซิ่น ซึ่งเรียกว่า ลายน้ำไหล ยังมีใช้กันอยู่ทางภาคเหนือในปัจจุบัน นอกจากนี้จิตรกรรมที่วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ และที่อุโบสถวัดบวกครกหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ที่วิหารพระเจ้าล้านทองรอบศาลาการเปรียญ วัดพระธาตุลำปางหลวงจังหวัดลำปาง ล้วนแสดงให้เห็นถึงลักษณะลวด-ลายผ้าไหมและผ้าซิ่นที่ใช้สืบต่อกันเรื่อยมา
ตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "เมื่อขุนเจื๊อง (เจียง) รับคำท้ารบของพระยาแมนตาตอกครอบฟ้าตาหยืดแล้ว เห็นว่าตนจะแพ้แน่แล้ว ก็เปลื้องเสื้อและผ้าพันพระเศียรใส่ผอบทองคำ ใช้อำมาตย์คนหนึ่งเอากลับมาให้นางอัครมเหสี" ในตำนานพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดแพร่ ก็มีข้อความว่า "...เมื่อปี (พ.ศ.) ๒๓๖พระโสณะและพระอุตตระ ได้นำเอาพระเกษามาบรรจุที่เขานี้ เจ้าผู้ครองนครแพร่ในเวลานั้นมีพระนามว่า เจ้าก้อมหรือสระอ้ายก้อม มีความเลื่อมใสมากจึงเปลื้องเอาผ้าแพร (คนพื้นเมืองเรียก ผ้าแฮ) ซึ่งโพกศีรษะออกรองรับพระเกษา..."

ตำนานทั้งสองนี้แสดงว่า ในสมัยเชียงแสนหรือ ล้านนาไทย คนไทยรู้จักนำผ้ามาตัดเย็บเป็นเสื้อสวมใส่ และนำผ้าแพรมาพันโพกศีรษะ ซึ่งคงไว้ผมยาวและมุ่นมวยไว้


จิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์ จ.น่าน แสดงให้เห็นการแต่งกายของชาวเหนือที่ใช้ผ้าและลวดลายแบบไทย

ประติมากรรมสมัยเชียงแสง
เชียงแสนยุคแรก
เชียงแสนยุคแรก มีทั้งการสร้างพระพุทธรูปและภาพพระโพธิสัตว์ หรือเทวดาประดับศิลปสถาน พระพุทธรูปโดยส่วนรวมมีพุทธลักษณะ คล้ายพระพุทธรูปอินเดียสมัยราชวงศ์ปาละ มีพระวรกายอวบอ้วน พระพักตร์กลมคล้ายผลมะตูม พระขนงโก่ง พระนาสิกโค้งงุ้ม พระโอษฐ์แคบเล็ก พระหนุเป็นปม พระรัศมีเหนือเกตุมาลาเป็นต่อมกลม ไม่นิยมทำไรพระศก เส้นพระศกขมวดเกศาใหญ่ พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้น ตรงปลายมีลักษณะเป็นชายธงม้วนเข้าหากันเรียกว่า เขี้ยวตะขาบ ส่วนใหญ่นั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัยฐานที่รององค์พระทำเป็นกลีบบัวประดับ มีทั้งบัวคว่ำและบัวหงาย และทำเป็นฐานเขียงไม่มีบัวรองรับ ส่วนงานปั้นพระโพธิสัตว์ประดับเจดีย์วัดกู่เต้า และภาพเทวดาประดับหอไตรวัดพระสิงห์เชียงใหม่ มีสัดส่วนของร่างกาย สะโอดสะองใบหน้ายาวรูปไข่ ทรงเครื่องอาภรณ์เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ในศิลปะแบบปาละเสนะของอินเดียหรือแบบศรีวิชัย
เชียงแสนยุคหลัง
เชียงแสนยุคหลัง มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีแบบของลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัยเข้ามาปะปนรูปลักษณะโดยส่วนรวมสะโอดสะองขึ้น ไม่อวบอ้วนบึกบึน พระพักตร์ยาวเป็นรูปไข่มากขึ้น พระ-รัศมีทำเป็นรูปเปลว พระศกทำเป็นเส้นละเอียดและมีไรพระศกเป็นเส้นบางๆ ชายสังฆาฏิยาวลงมาจรดพระนาภี พระพุทธรูปโดยส่วนรวมนั่งขัดสมาธิราบ พระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุดและถือเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปยุคนี้คือ พระ-พุทธสิหิงค์ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑ-สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ พระพุทธรูปเชียงแสนนี้มักหล่อด้วยโลหะทองคำ และสำริด
สถาปัตยกรรมสมัยเชียงแสง
สถาปัตยกรรมไทยสมัยโบราณแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆคือ
1.สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา ได้แก่ อาคารและสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร สถูป เจดีย์ ปรางค์ กุฏิ หอไตร
2.สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับกษัตริย์ ได้แก่ อาคารที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์
3.สถาปัตยกรรมพื้นบ้าน ได้แก่ บ้านเรือนที่พักอาศัยของประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ

สถาปัตยกรรมไทยสมัยต่างๆมีดังนี้คือ

1.สถาปัตยกรรมไทยสมัยเชียงแสน หรือ สถาปัตยกรรมล้านนา (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-23) พญาเม็งรายได้รวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือให้อยู่ภายในอาณาจักรเดียวกัน แล้วสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นราชธานีในปี พ.ศ.1839 ขนานนามว่า "ลพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" เป็นศูนย์กลางของศิลปะวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนาในสมัยต่อมา
สถูปและเจดีย์ที่พบในบริเวณเมืองเชียงแสนซึ่งเป็นศูนย์กลางของล้านนายุคแรก ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 16 แทบทั้งสิ้น สถาปัตยกรรมสมัยเชียงแสนที่ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบันมากที่สุด คือ เจดีย์ ที่ส่วนมากได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบต่างๆ มาผสมผสานกัน เช่นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสุโขทัย แต่ดัดแปลงผสมผสานกับรูปแบบของล้านนา ได้แก่ เจดีย์วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
เจดีย์เหลี่ยมแบบที่รับอิทธิพลมาจากศิลปะศรีวิชัยผสมกับศิลปะทวารวดีและสุโขทัย ได้แก่เจดีย์เหลี่ยมวัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เจดีย์เหลี่ยมวัดกู่กุด หรือวัดจามเทวี จังหวัดลำพูน เจดีย์เจ็ดยอดวัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ สร้างเลียนแบบวิหารพุทธคยา ที่รับอิทธิพลมาจากศิลปะพม่าเป็นต้น
สำหรับโบสถ์และวิหารล้านนานิยมสร้างเป็นครึ่งปูนครึ่งไม้คือ ส่วนล่างก่ออิฐฉาบปูน ส่วนบน ทำเป็นไม้ฝาปะกน และบันไดทางขึ้นนิยมทำเป็นนาคสองตัวทอดยาวเป็นราวบันได เช่นวิหารวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน และวิหารลายคำวัดพระสิงห์วรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่

2.สถาปัตยกรรมไทยสมัยสุโขทัย สร้างขึ้นในอาณาจักรสุโขทัยเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19-20
เจดีย์สมัยสุโขทัยก็เช่นเดียวกับเจดีย์สมัยเชียงแสนหรือล้านนา ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบต่างๆ เข้ามาผสมผสานกับศิลปะของสุโขทัยจนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะของสุโขทัย เช่น เจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะลังกา ศิลปะศรีวิชัย และเจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์นี้ มักสร้างฐานเป็นสี่เหลี่ยมซ้อนกันสามชั้น องค์เจดีย์เป็นเหลี่ยมย่อมุม ยอดเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูม การก่อสร้างใช้ศิลาแลงเป็นแกน ฉาบปูน เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์นี้ถือเป็นเจดีย์ของสุโขทัยแท้ๆ ปรากฏอยู่ที่วัดมหาธาตุ เมืองเก่าสุโขทัย และเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัยเป็นต้น
เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา เป็นเจดีย์ที่รับอิทธิพลรูปแบบมาจากลังกา ซึ่งเข้ามากับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ เช่นเจดีย์วัดช้างรอบ จังหวัดกำแพงเพชร และเจดีย์วัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัย เจดีย์แบบนี้ เหนือองค์ระฆังทรงกลมขึ้นไปเป็นบัลลังก์ยอดกลมเรียว เป็นเจดีย์ที่นิยมสร้างกันแพร่หลายในสมัยสุโขทัย
เจดีย์แบบศรีวิชัย เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมสูง มีซุ้มคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ด้าน ถัดขึ้นไปเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา มุมเจดีย์ประดับด้วยเจดีย์เล็กๆทั้งสี่มุม เจดีย์แบบนี้มีปรากฏที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย
ปรางค์ เป็นสถูปพุทธศาสนาที่แปลกออกไป เพราะแต่เดิมเป็นสถูปในศาสนาพราหมณ์ สร้างมาก่อนอาณาจักรสุโขทัย ต่อมาดัดแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนา โดยดัดแปลงรูปทรงให้สูงชะลูดขึ้นไปกว่าของเดิม เช่นปรางค์วัดพระพายหลวง ที่เมืองเก่าสุโขทัย
สำหรับโบสถ์วิหารสมัยสุโขทัยนั้น สันนิษฐานว่า ก่อด้วยโครงศิลาแลงฉาบปูน โครงสร้างหลังคานิยมเรียงด้วยก้อนศิลาเหลี่ยมซ้อนกันไปเป็นสามเหลี่ยมค่อนข้างแหลม ส่วนอาคารที่โครงสร้างเป็นไม้ หลังคาคงเป็นหลังคาจั่วลาดชันเพื่อให้น้ำฝนไหลสะดวกและป้องกันลมด้วย

3.สถาปัตยกรรมไทยสมัยอยุธยา ก่อนที่จะถึงสมัยอยุธยานั้นมีศิลปะกรรมกลุ่มช่างกลุ่มหนึ่งที่มีรูปแบบที่แตกต่างไปจากศิลปะอยุธยา คือ ศิลปะอู่ทอง แต่อย่างไรก็ตามสถาปัตยกรรมสมัยอู่ทองอาจผนวกรวมเข้ากับสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาได้
ศิลปะสมัยอยุธยานิยมแบ่งออกเป็น 3 ยุค หรือ 3 ช่วง คือแบ่งเป็นสมัยอยุธยาตอนต้น เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พ.ศ.1893 ไปจนถึงสมัยพระชัยราชาธิราช พ.ศ.2089 สมัยอยุธยาตอนกลางตั้งแต่สมัยพระยอดฟ้า พ.ศ.2089 จนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา พ.ศ.2199 และสมัยอยุธยาตอนปลายตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชไปจนถึงเสียกรุงครั้งที่ 2 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ พ.ศ.2310
ก.ยุคต้นของกรุงศรีอยุธยาการสร้างวัดนิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัด ปรางค์ที่สร้างขึ้นนี้เอาแบบอย่างมาจากปรางค์ขอม แต่ดัดแปลงให้ทรงชะลูดกว่า ทำย่อมุมมากขึ้นและยกฐานขึ้นสูงจนเกือบเท่าองค์ปรางค์ เช่น ปรางค์วัดพุทไธสวรรย์ วัดพระรามและวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991-2031) นิยมสร้างเจดีย์ทรงลังกาแบบมีบัลลังก์เหลี่ยมเหนือองค์ระฆังกลม เช่น เจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์
สำหรับโบสถ์และวิหารสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นอาคารขนาดใหญ่ จึงต้องมีเสารับเครื่องบนหลังคาภายในสองแถวและมีเสารับชายคาปีกนกภายนอกด้วย เช่น พระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุเป็นต้น
ข.สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง สมัยนี้มักสร้างสถูปและเจดีย์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นิยมสร้างเจดีย์แบบลังกาเช่นเดียวกับที่เคยสร้างในสมัยสุโขทัย เช่น เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดอยุธยา
สำหรับโบสถ์และวิหารในสมัยอยุธยาตอนกลางนั้น มีขนาดเล็กลง ก่อผนังทึบไม่มีเสารับน้ำหนักภายในอาคาร แต่ใช้ผนังรับน้ำหนักหลังคาแทน เลิกใช้เสาด้านข้าง แต่ใช้ทวยรับน้ำหนักชายคาปีกนก ตัวอย่างเช่นพระอุโบสถวัดสระบัว จังหวัดเพชรบุรีเป็นต้น
ค.สมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นยุคที่ช่างฝีมือต่างๆเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการติดต่อค้าขายกับชาวตะวันตกและชาวจีนมากขึ้น ทำให้ได้รับวิทยาการใหม่ๆมาปรับปรุงช่างฝีมือไทยให้ดีขึ้น มีการนำเอารูปแบบของศิลปะยุโรปเข้ามาผสม เช่นการเจาะหน้าต่างอาคารโค้งแหลมแบบศิลปะกอธิก และเริ่มสร้างอาคารสองชั้นได้แก่ ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรค์ จังหวัดอยุธยาเป็นต้น

4.สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ แบ่งออกเป็น 2 ยุคคือ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เริ่มตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์หรือกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2325 จนสิ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และยุคที่สองอันเป็นสถาปัตยกรรมยุคใหม่เริ่มตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาจนถึงปัจจุบัน
พระบรมมหาราชวังที่สร้างขึ้นนั้น ถ่ายผังบริเวณพระราชวังหลวงในกรุงศรีอยุธยามาแทบทุกอย่าง ในรัชกาลที่ 3 มีการก่อสร้างและบูรณะปราสาทราชมณเฑียร เช่น เปลี่ยนหลังคาพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทจากกระเบื้องดีบุกเป็นกระเบื้องเคลือบ
สำหรับโบสถ์และวิหารแบบพระราชนิยมที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 นั้น มีอิทธิพลศิลปะจีนเข้ามาผสม มีลักษณะที่สำคัญคือ เครื่องหลังคา หน้าบัน ไม่มีเครื่องลำยอง จึงไม่มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ เสาทำเป็นเสาสื่เหลี่ยมไม่มีบัวปลายเสา หน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้น เครื่องเคลือบดินเผา ถ้วยชามจีนแทนการประดับด้วยลายปูนปั้น และนิยมตกแต่งบริเวณรอบๆด้วยเครื่องหินศิลปะจีน ตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมา ถือเป็นยุคของการปฏิรูปบ้านเมืองยุคใหม่ การสร้างวัดวาอารามและโบสถ์วิหารมักจะนำเอารูปแบบของศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับศิลปะไทย เช่นพระอุโบสถวัดบวรนิเวศน์วิหารเป็นต้น